วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

...ขอต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ Penpizzaa ด้วยความยินดีจ้า...

ความหมาย
 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
 เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร




ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา       เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

   - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

   - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

   - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

   - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
 
   - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

    - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
 
   - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
 
ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
   - งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา

    - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน

   - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

   - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่

    - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ



การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย


คำแนะนำในการใช้ google


1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา  moon back to nature Google จะค้นหาแบบ moon AND back AND to AND nature (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
 2.การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +IV
4.Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
5.การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
6. Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admiss7on site:www.stanford.edu
7.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย
8. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้Advanced Search หรือ การค้นหา แบบละเอียดใน Google ภาษาไทย

 ห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์



เครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทยหรือสคูลเน็ต เป็นเครือข่ายที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีโรงเรียนเชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายนี้มากกว่าหนึ่งพันโรงเรียน ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นครูและนักเรียน และใช้ประโยชน์เพื่ อการศึกษาเป็นสำคัญ ถึงแม้ว่าเครือข่ายสคูลเน็ตจะเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตและเรียกค้นข้อมูลจากทั่วโลกได้แล้วก็ตาม แต่ปัญหาที่พบคือ  มีข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ประโยชน์กับครูและนักเรียนโดยตรงได้น้อย อีกทั้งยังเป็นภาษาต่างประเทศ ทำให้เกิดความเข้าใจได้ยาก และการเรียกใช้ข้อมูลได้ค่อนข้างช้า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ใช้มักเป็นเรื่องความสนุกเพลิดพลิน นับเป็นปัญหาหนึ่งที่จะมีผลต่อเด็กและเยาวชนได้แก่ การแพร่ซึมวัฒนธรรมจากต่างชาติ
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้เครือข่ายสคูลเน็ต และเป็นจุดน่าสนใจที่จะดึงดูดให้นักเรียนและเยาวชนไทยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลความรู้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาเนื้อหาขึ้นภายในประเทศไทย เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้จะเป็นเสมือน ห้องสมุดความรู้ที่ใช้งานร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อลูกหลานชาวไทยต่อไป
โครงการดิจิตอลไลบารีจึงเป็นโครงการต้นแบบเริ่มต้น และเป็นตัวอย่าง ที่จะชักจูงให้โรงเรียนต่าง ๆ เข้ามาร่วมโครงการสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และเชื่อมโยงเข้าสู่ห้องสมุดดิจิตอลนี้ อย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดห้องสมุดเสมือนจริงบนเครือข่ายสคูลเน็ตสำหรับการใช้งานร่วมกันต่อไป
เนื้อหาที่นำมาใส่ไว้ในโครงการนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง สำหรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่จะร่วมโครงการ โดยเป็นการรวบรวมและเรียบเรียงมาเพื่อเป็นตัวอย่างของการสร้างห้องสมุดดิจิตอล ที่จะขยายเพิ่มต่อไปอย่างไม่มี ขอบเขต โดยเน้นเพื่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ คณะผู้ดำเนินการต้องขอขอบพระคุณหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่ได้ให้การสนับสนุน ทั้งทางด้านเนื้อหาและร่วมจัดทำ และหวังว่าโครงการนี้จะได้รับการขยายผลให้กว้างขวางต่อไป